ซีเกมส์ 2019
ซีเกมส์ 2019 จัดขึ้นที่ ประเทศ ฟิลิปปินส์ โดยเป็นการจัดการแข่งขัน กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 4 ของประเทศฟิลิปปินส์

ซีเกมส์ เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีการจัดขึ้นในทุกสองปี หรือปีเว้นปี ดำเนินการแข่งขันโดยสมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสมาชิกทั้งหมด 11 ประเทศ(2019) ได้แก่ กัมพูชา ลาว มาเลเซีย พม่า สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม บรูไน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ติมอร์-เลสเต
ความเป็นมาของกีฬา ซีเกมส์
ประวัติซีเกมส์ ประวัติ กีฬาซีเกมส์ ความเป็นมาซีเกมส์ ประวัติกีฬาแหลมทอง ประวัติเซี๊ยบเกมส์ ความเป็นมากีฬาเซี๊ยบเกมส์ กีฬาซีเกมส์มีความเป็นมาอย่างไร ประวัติเจ้าเหรียญทองกีฬาซีเกมส์ ไทยเป็นเจ้าเหรียญทองซีเกมส์มากี่สมัย อ่ายนประวัติกีฬาซีเกมส์ได้ที่นี่
ประวัติซีเกมส์ ภาพรวมของประวัติ กีฬาซีเกมส์ การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ (THE SEA GAMES) หรือการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศในกลุ่มประเทศเอเชียอาคเนย์ (The South – East Asia Games) ในปัจจุบันนั้น ได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงมาจากการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศภาคพื้นแหลมทอง (The South – East Asia Peninsular Games) หรือที่เรียกชื่อย่อในภาษาไทยว่า “กีฬาแหลมทอง” และเรียกชื่อย่อในภาษาอังกฤษว่า “SEAP GAMES” โดยมีประวัติการพัฒนาการทางการแข่งขันดังนี้
โดยที่ปรากฏว่า เมื่อหลาย ปีผ่านมาแล้ว การแข่งขันกีฬาต่างๆ ระหว่างประเทศเพื่อบ้านใกล้เคียง เช่น ฟุตบอล รักบี้ แบดมินตัน เทนนิส มวย ฯลฯ ได้เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยองค์การกีฬาต่างประเทศเป็นฝ่ายเสนอเข้ามาแข่งขันในกรุงเทพฯ หรือไม่ก็เชิญให้ประเทศไทยออกไปแข่งขันยังนครหลวงประเทศของเขา ซึ่งเจตนารมย์นี้เราก็ได้ตอบสนองและรับการเชิญทุกครั้งเท่าที่โอกาสอำนวยให้ได้ เหตุนั้นความสัมพันธ์ระหว่างระหว่างประเทศตามวิถีทางการกีฬาจึงได้กระชับเกลียวแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
เมื่อต้นปี พ.ศ. 2501 ได้มีการปรารถกันจากที่หลายแห่งว่า บรรดาประเทศต่างๆ ในภาคพื้นแหลมทองหรือที่เรียกตามภูมิศาสตร์ว่า “เอเซียอาคเนย์” ซึ่งได้แก่ประเทศไทย พม่า กัมพูชา มาลายา ลาว และเวียดนาม ควรจะได้มีการชุมนุมแข่งขันกีฬาต่างๆ ตามนัยของการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์และโอลิมปิคบ้าง เพราะจากผลของการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์และโอลิมปิคที่แล้วมา ประเทศในภาคพื้นแหลมทองโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทย นักกีฬายังมีสมรรถภาพและประสิทธิภาพด้อยกว่าประเทศอื่นอยู่
ด้วยเหตุดังกล่าวแล้วเป็นประการแรก ประการที่สองประเทศต่างๆ ในภาคพื้นแหลมทองนี้มีความเป็นอยู่ละม้ายคล้ายคลึงกัน อากาศหนาวร้อนสม่ำเสมอกัน รูปพรรณสัณฐานไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน และก็จะจัดให้มีการแข่งขันในฤดูกาลอันควรให้ได้จังหวะก่อนการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์และโอลิมปิคด้วยแล้ว ก็จะเป็นการตระเตรียมที่มีคุณค่าแก่การแข่งขันครั้งใหญ่ดังกล่าวนั้นไปในตัวเลยทีเดียว ประการสุดท้ายจุดประสงค์สำคัญของการจัดให้มีการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศนี้ก็คือ
เพื่อเชื่อมความสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 6 ให้มีความกระชับสนิทสนมยิ่งขึ้น เพราะการกีฬาเป็นสื่อสัมพันธไมตรีที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง
เพื่อจะได้ปรับปรุงกิจการกีฬา และเพาะนักกีฬาของเราให้ดียิ่งขึ้น เพราะนอกจากจะเป็นการประลองฝีมือกันแล้วยังเป็นการกระตุ้นให้นักกีฬาตื่นตัวยิ่งขึ้น และมีโอกาสได้ตระเตรียมตัวเพื่อการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์และโอลิมปิคคราวต่อไปด้วย ประเทศไทยเป็นประเทศภาคีสมาชิก หากไม่จัดส่งทีมไปแข่งขันเลยก็จะเป็นการขาดหายไปซึ่งเป็นสิ่งมิบังควร
ด้วยมูลเหตุดังกล่าวแล้ว คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้มีการประชุมปรึกษาหารือกันเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2501 และลงมติให้พิจารณาวางโครงการ ได้ประชุมปรึกษาหารือกันหลายวาระ ในที่สุดได้ตกลงที่จะให้มีการแข่งขันครั้งแรกขึ้น ให้ชื่อการแข่งขันในภาษาอังกฤษว่า “South East Asia Peninsular Games” และเรียกชื่อภาษาไทยว่า “การแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศภาคพื้นแหลมทอง” ซึ่งย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “SEAP GAMES” และย่อเป็นภาษาไทยว่า “กีฬาแหลมทอง” ประเทศที่จะเข้าร่วมการแข่งขันครั้งที่ 1 ควรจะเป็นประเทศไทย พม่า มาลายา ลาว เวียดนาม และกัมพูชา รวม 6 ประเทศ ซึ่งอยู่บนภาคพื้นแหลมทอง (PENINSULAR) แห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (SOUTH EAST ASIA) ตามภูมิศาสตร์อย่างถูกต้อง

กีฬาที่แข่งขันใน ซีเกมส์ 2019
โดยประเทศไทยของเรา ได้ทำการส่งนักกีฬาเข้าแข่งขั้น ทั้งหมด 12 ชนิด ได้แก่
- กรีฑา
2. ฟุตบอล
3. บาสเกตบอล
4. มวย
5.แบดมินตัน
6. เทนนิส
7. ยกน้ำหนัก
8. วอลเลย์บอล
9. ยิงปืน
10. แข่งจักรยาน
11. ว่ายน้ำทางไกล
12. เทเบิลเทนนิส