จาก มวยไทย สู่ มวยโลก

จาก มวยไทย สู่ มวยโลก มวย ถือว่าเป็นศิลปะการต่อสู้ จากประเทศไทย ที่มีความโดดเด่นด้านเทคนิคการต่อสู้ เป็นการใช้ทั้งแรงกายและจิตใจ ใช้ร่างกายเป็นอาวุธในการต่อสู้ ที่รู้จักว่าเป็น “นวอาวุธ” ประกอบด้วยการโจมตีจากร่างกายทั้ง หมัด, ศอก, เข่า และเท้า เพื่อการเอาชะคู่ต่อสู้

จาก มวยไทย สู่ มวยโลก
มวยไทยเริ่มเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ภายหลังจากที่ โอซามู โนกูจิ ได้นำมวยไทยไปดัดแปลงเป็นมวยคิกบ็อกซิ่ง แล้วอ้างว่ามวยไทยลอกแบบมาจากคิกบ็อกซิ่ง ครูยอดธง เสนานันท์ จึงนำทัพนักกีฬามวยไทย ไปชกกับนักมวยคิกบ็อกซิ่งชาวญี่ปุ่น เพื่อพิสูจน์ว่า มวยไทยคือศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวต้นตำรับ ที่มีมาช้านาน ตั้งแต่สมัยโบราณ รวมทั้งอาจารย์สุรชัย ศิริสูตร์ เป็นบุคคลรายสำคัญ ผู้นำวิชามวยไทยไปเผยแพร่ในสหรัฐอเมริกา จนเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และในปัจจุบัน ทัชชกร ยีรัมย์ นักแสดงภาพยนตร์ชาวไทย ได้นำเสนอรูปแบบการต่อสู้โดยใช้วิชามวยไทยแบบต่างๆในฉากต่อสู้และเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลกรวมถึง ได้มีการจัดการแข่งขัน ไทยไฟท์ ซึ่งเป็นรายการแข่งขันระดับโลกที่ได้รับการสนับสนุนจากทั้งทางภาครัฐและเอกชน
มวยไทย มีการสืบทอดมาจากมวยโบราณ แบ่งออกเป็นสาย ตามแต่ละท้องถิ่นโดยมีสายสำคัญหลัก เช่น มวยท่าเสา (ภาคเหนือ) มวยโคราช (ภาคอีสาน) มวยไชยา (ภาคใต้) มวยลพบุรีและมวยพระนคร (ภาคกลาง) มีคำกล่าวไว้ว่า “หมัดหนักโคราช ฉลาดลพบุรี ท่าดีไชยา ไวกว่าท่าเสา” มวยไทยมีประวัติศาสตร์อันยาวนานของ ใช้กันในการต่อสู้ในสงครามสมัยก่อน
แต่ในปัจจุบันที่ใช้เป็นการกีฬา โดยมีการใช้นวมขึ้นเพื่อลดการเกิดอันตรายจากการต่อสู้ มวยไทยยังคงได้ชื่อว่า ศาสตร์การโจมตีทั้งแปด ซึ่งรวม สองมือ สองเท้า สองศอก และสองเข่า (บางตำราอาจเป็น นวอาวุธ ซึ่งรวมการใช้ศีรษะโจมตี หรือ ทศอาวุธ ซึ่งรวมการใช้บั้นท้ายกระแทกโจมตี)
ในสมัยโบราณจะมี สำนักเรียน มี ครูมวย คล้ายกับค่ายมวยในปัจจุบัน แต่ไม่เหมือนกัน ครูมวย จะเป็นผู้ที่มีฝีมือ และมีชื่อเสียงเป็นที่เคารพรู้จัก มีความประสงค์ที่จะถ่ายทอดวิชาไม่ให้สูญหายไป จะมุ่งเน้นถ่ายทอดให้เฉพาะกับลูกศิษย์ที่มีความเหมาะสม โดยแยกเป็น สำนักหลวง และ สำนักราษฎร์ บางครั้งก็เรียนร่วมกับเพลงดาบ กระบี่ กระบอง พลอง ทวน ง้าวและมีดหรือการต่อสู้อื่น ๆ
เพื่อใช้ในการต่อสู้ป้องกันตัว และเพื่อใช้ในการสงคราม มีทั้งพระมหากษัตริย์ และขุนนางแม่ทัพนายกอง และชาวบ้านธรรมดา จะมีการแข่งขันต่อสู้-ประลองกันในงานวัดหรืองานเทศกาล โดยมีการส่งนักมวย หรือครูมวยจากสำนักแต่ละสำนัก เข้าแข่งขันกันโดยยึดความเสมอภาค
บางครั้ง จึงมีตำนานพระมหากษัตริย์ หรือขุนนางที่เชี่ยวชาญการต่อสู้ปลอมตนเข้าร่วมแข่งขัน เพื่อทดสอบฝีมือ เช่น พระเจ้าเสือ (ขุนหลวงสรศักดิ์) พระเจ้าตากสินมหาราช พระยาพิชัยดาบหัก ครูดอก แขวงเมืองวิเศษไชยชาญ จนเมื่อไทยเสียกรุงแก่พม่า ปรากฏชื่อนายขนมต้ม ครูมวยชาวอยุธยา ซึ่งถูกกวาดต้อนเป็นเชลยศึกได้ชกมวยกับชาวพม่า ชนะหลายครั้ง เป็นที่ปรากฏถึงความเก่งกาจของวิชามวยไทย
ในสมัยอยุธยา ตอนปลาย ได้มีการจัดตั้งกรมทนายเลือก และกรมตำรวจหลวงขึ้นมีหน้าที่ในการให้การคุ้มครองกษัตริย์และราชวงศ์ ได้มีการฝึกหัดวิชาการต่อสู้ทั้งมวยไทย และมวยปล้ำตามแบบอย่างแขกเปอร์เซีย (อิหร่าน) จึงมีครูมวยไทยและนักมวยที่มีฝีมือเข้ารับราชการจำนวนมาก และได้แสดงฝีมือในการต่อสู้ในราชสำนักและหน้าพระที่นั่งในงานเทศกาลเป็นประจำ และเป็นที่น่าสังเกตว่า กองทัพกู้ชาติของพระเจ้าตาก ล้วนประกอบด้วยนักมวยและครูมวยที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น ถึงกับได้มีการจัดตั้งเป็นหน่วยรบพิเศษ 3 กอง คือ กองทนายเลือก กองพระอาจารย์ และกองแก้วจินดา ซึ่งได้ปฏิบัติภารกิจที่สำคัญที่ทำให้คนไทยสิ้นความหวาดกลัวต่อทัพพม่า ในการรบที่บ้านนางแก้ว ราชบุรี จนอาจเรียกได้ว่า มวยไทยกู้ชาติ
cr.wikipedai

เมื่อ มวย ของไทยไทยถูกนำมาเป็นการกีฬา มีการเล่นเป็นอาชีพ จึงให้ให้เกิดการแข่งขันในระดับต่างๆ เริ่มจากต้นจากการแข่งขันในระดับภูมิภาค ระดับประเทศ จึงทำให้เป็นที่รู้จัก และเป็นที่น่าสนใจ มีผู้ที่ชื่นชอบและรักการต่อสู้มากมาย ทำให้มวยไทยเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก มีการตั้งสมาคมต่างๆ เกี่ยวกับมวยไทนขึ้นมา เพื่อให้มวยไทยเป็นกีฬาที่เป็นสากล มีกตกาที่เป็นสากล เข้าใจตรงกันทั่วโลก
ด้วยปณิธานอันแน่วแน่ในการเผยแพร่ศิลปะ มวย ในต่างประเทศ คุณสมชาติ เจิรญวัชรวิทย์ นายกสมาคมกีฬามวยอาชีพแห่งประเทศไทย จึงได้ก่อตั้ง องค์กรอาสาสมัครเพื่อเป็นองค์กรกลาง โดยมีจุดประสงค์คือดูแลการจัดการแข่งขันมวยไทยอาชีพขององค์กรสมาชิกที่จัดมวยทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยมีชื่อว่าสหพันธ์มวยไทยอาชีพโลก WORLD PROFESSIONAL MUAY THAI FEDERATION (WPMF)
เนื่องจากคุณสมชาติ เจริญวัชรวิทย์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกสมาคมกีฬามวยอาชีพแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นสมาคมแห่งประเทศไทย ที่จัดตั้งขึ้นโดยมีกฎหมายมวยรองรับอย่างถูกต้อง และยังดำรงตำแหน่งเป็นปรึกษาผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย,ประธานที่ปรึกษาชมรมนักมวยเก่าแห่งประเทศไทย,คณะกรรมการบอร์ดมวยของสำนักงานมวย นอกจากนี้ยังได้สละเวลาในการจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ของนักมวยเก่าทุกไตรมาส เพื่อร่วมกันพบปะสังสรรค์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและปัญหาในวงการมวย ซึ่งถือว่าป็นผู้ทรงคุณวุฒิในวงการมวยและเป็นบุคคลที่ยอมรับของวงการมวยมากที่สุดท่านหนึ่ง โดยคุณสมชาติ เจริญวัชรวิทย์ได้คำนึง ถึงการเผยแพร่ศิลปะแม่ไม้มวยไทย จึงร่วมกับบุคลากรผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านกีฬามวยรวมตัวกันก่อตั้ง สหพันธ์มวยไทยอาชีพโลก WORLD PROFESSIONAL MUAY THAI FEDERATION (WPMF) ขึ้นตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา โดยสหพันธ์มวยไทยอาชีพโลก ร่วมกับสมาคมกีฬามวยอาชีพแห่งประเทศไทย และบุคคลในวงการมวย ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมในการเผยแพร่ศิลปะแม่ไม้มวยไทยทั้งในต่างประเทศและต่างประเทศแย่งต่อเนื่อง อาทิ
– กิจกรรมงานวันที่ 5 ธันวามหาราช ซึ่งได้จัดไปเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2551 ณ บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง
– โดยมีชาวต่างชาติเข้าร่วมกิจกรรมกันอย่างคับคั่ง เช่น ญี่ปุ่น,รัสเซีย,อิหร่าน,สหรัฐฯ,ออสเตรเลีย,อังกฤษ และสเปนโดยมีคู่ชกมากกว่า 20 คู่
– กิจกรรมงานวันเฉลิมพระชนม์พรรษา 12 สิงหามหาราชินี
– กิจกรรมงานวันนายขนมต้ม และการจัดกิจจกรรมชกมวยการกุศลอื่น ๆ อีกมากมาย
ปัจจุบันมีบุคลากรที่มีคุณภาพ และมีใจรักมวยไทยมารวมใจกันในการเผยแพร่ศิลปะแม่ไม้มวยไทย อาทิ โปรโมเตอร์ หัวหน้าคณะนักมวย/ผู้จัดการนักมวย/นักมวยเก่า เช่น คุณเขียวหวาน ยนตร์กิจ , คุณผุดผาดน้อย โดยเฉพาะโปรโมเตอร์สายเลือดใหม่อีกหลายท่าน โดยมีวิสัยทัศน์อันก้าวไกล
คุณสมชาติ เจริญวัชรวิทย์ ร่วมกับคณะกรรมการบริหารสหพันธ์มวยไทยอาชีพโลก และคณะที่ปรึกษามีความเชื่อมั่นว่าสหพันธ์มวยไทยอาชีพโลก สามารถพัฒนาก้าวหน้าเป็นที่ยอมรับของบุคคลวงการมวย ตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสหพันธ์มวยไทยอาชีพโลก WORLD PROFESSIONAL MUAY THAI FEDERATION (WPMF)
1. เพื่อทำหน้าที่เป็นองค์กรที่ไม่แสวหาผลกำไรใด ๆ
2. เพื่อสนับสนุนส่งเสริมศิลปะมวยไทยและรักษามาตรฐาน กฎ กติกา ของมวยไทยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
3. เพื่อผดุงรักษาความเป็นธรรมของมวยไทยในต่างประเทศ
4. เพื่อสร้างความสามัคคีระหว่างมวลสมาชิก
5. เพื่อดำเนินกิจกรรมของมวยไทยอาชีพโดยไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง
6. เพื่อเป็นศูนย์กลางของสมาชิกสหพันธ์มวยไทยอาชีพโลกในการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องกับมวยไทยอาชีพโลก
cr.siamsporttalk.com