eSports

ทุกคนคงได้ยินคำว่ากีฬา eSports มาสักพักแล้วแต่ก็ยังมีคนที่ยังไม่รู้ว่ากีฬา eSports คืออะไร ? แล้วทำไมถึงเป็นกีฬาได้ แล้วจุดเริ่มต้นของ eSports ว่าเป็นมายังไง จริงๆแล้วกีฬานี้เกิดขึ้นด้วยเทคโนโลยีสมัยนี้ที่มีการพัฒนาขึ้น จากการเล่นเกมกับเพื่อนๆหรือไว้คลายเครียดยามว่างก็ได้เปลี่ยนเป็นการเล่นเกมเป็นอาชีพ

eSports

เป็นกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ย่อมาจากคำว่า ( Electronic Sports) เป็นกีฬาอิเลคโทรนิคส์ที่กำลังเป็นที่นิยมทั่วโลก มีทั้งประเภทบุคคลและประเภททีม ซึ่งเป็นการพัฒนาจากการเล่นเกมแบบเดิมๆ ที่ต้องมีการแข่งขันการเพื่อชัยชนะ ซึ่งกีฬาชนิดนี้เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้การสร้างทีมแข่งขันไม่ได้หยุดอยู่ที่เพียงกีฬาปกติเท่านั้น

eSports

แต่ยังมาถึงในวงการเกมอีกด้วย ซึ่งประกอบไปด้วย นักกีฬา อุปกรณ์กีฬา ( เมาส์,คีย์บอร์ด,หูฟัง หรืออื่นๆ ) โดยใช้คอมพ์พิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ชนิดต่างๆเป็นสนามแข่งขันและใช้โลกของไซเบอร์เป็นโลกแห่งการแข่งขัน ซึ่งปัจจุบันได้มีทีมกีฬาและการแข่งขัน E-Sports เกิดขึ้นมากมายในระดับโลก

ข้อดีกับข้อเสีย

เป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่หลายคนมักจะถกเถียงกันตลอดเวลาเลย ว่าจริงๆแล้วมันมีข้อดีกับข้อเสียยังไง เพราะเวลาที่เห็นเด็กเล่นเกมมักจะโดนมองว่าเป็นเด็กก้าวร้าวและทำให้เกิดภาพที่ไม่ดีมาโดยตลอด

ข้อดี

1. สร้างรายได้

เป็นการที่ได้รายได้จากการแข่งขันและการเซ็นสัญญากับสโมสรต่างๆ

ยกตัวอย่าง N0Tail หนึ่งในโปรเพลยเยอร์อีสปอร์ตจากเกม Dota 2 ที่กวาดเงินรางวัลไปได้มากถึง 6,881,440 ดอลลาร์หรือคิดเป็นเงินไทยกว่า 210,912,434 บาทจากการแข่งขัน The International 8 และ 9 ซึ่งเป็นการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของ Dota 2 และ Jabz ผู้เล่นไทยที่เป็นโปรเพลยเยอร์เกม Dota 2 เช่นเดียวกันซึ่งเขาสามารถทำเงินได้มากถึง 464,748 ดอลลาร์หรือคิดเป็นเงินไทย 14,244,276 บาท

2. เป้าหมายที่เป็นไปได้จริง

ในการเป็นนักแข่งของกีฬานี้ สามรถเป็นได้จริง ถ้าคุณมีเป้าหมายที่ชัดเจนกับการที่จะไปเป็นนักกีฬาจริงก็สามารถเป็นไปได้

ยกตัวอย่าง 23savage หรือน้องทรี หนึ่งในโปรเพลยเยอร์เด็กไทยน้องใหม่ของวงการ Dota 2 ที่ฝึกฝนตัวเองอย่างหนักเพื่อขึ้นเป็นที่หนึ่งของเซิฟเวอร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้เข้าร่วมกับทีมโปรเพลยเยอร์ชั้นนำจนเป็นที่ยอมรับและเกือบได้ไปแข่งขันในรายการ The International 9 แล้วด้วยหากไม่แพ้ในรองชิงชนะเลิศในรายการคัดตัวที่ผ่านมาซึ่งทั้งหมดนี้กว่าที่พ่อหรือแม่ของเขาจะเข้าใจก็ต้องใช้เวลาและพิสูจน์ให้เห็นกันอย่างยาวนานและอยู่ในการดูแลที่ถูกต้อง

และ BlueNP ที่เป็นเด็กมากพรสรรค์ที่เฉิดฉายตั้งแต่ในลีกรองของการแข่งเกม Realm of Valor ด้วยความสามารถอันโดดเด่นอย่างมากเลยเข้าตาทีมมืออาชีพอย่าง Buriram United จนได้เข้าไปเล่นในการแข่งขันระดับมืออาชีพ

3. การทำงานเป็นทีม

เหมือนกับการแข่งขันกีฬาชนิดอื่นที่ส่วนใหญ่แล้วนักกีฬาจะไม่ได้เล่นเพียงคนเดียวแต่จะต้องมีเพื่อนร่วมทีมในการแข่งขัน

4. สร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองและประเทศชาติ

ปัจจุบันเริ่มได้รับความสนใจจากคนทั่วไปมากขึ้นที่ไม่ได้เป็นเพียงแค่กลุ่มคนเล่นเกมอีกต่อไป ในการแข่งขันใหญ่ ๆ ของอีสปอร์ตที่เป็นลีกการแข่งขันระดับนานาชาติ ( International )

ยกตัวอย่าง ประเทศเกาหลีใต้ที่ขึ้นชื่อเรื่องความเก่งกาจในการแข่งขันอีสปอร์ตเป็นอย่างมากและส่งออกนักกีฬาไปทั่วโลกและคว้าแชมป์เกม League of Legends มาแทบจะทุกสมัยทั้งสร้างชื่อให้กับทีมของตัวเองและประเทศจนเศรษฐกิจของพวกเขาเติบโตเป็นอย่างมากในโลกของ Esports และ จากการแข่งขัน PUBG Mobile อีกหนึ่งในเกมที่มีการแข่งขันอีสปอร์ตระดับโลกเมื่อปีที่แล้ว RRQ Athena ที่เล่นกันเป็นทีม 4 คนได้อย่างเข้าขากันและพาให้ทีมไทยคว้าแชมป์ระดับโลกมาได้สำเร็จเป็นหน้าเป็นตา

eSports

ข้อเสีย

1. ภาพลักษณ์ที่ดูไม่ค่อยดี

จากมุมมองของผู้ใหญ่ยังเป็นสิ่งที่ไม่ดีเพราะผู้ใหญ่มองว่าการเล่นเกมทำให้เด็กเกิดนิสัยก้าวร้าวและเป็นกีฬาได้ยังไงในเมื่อไม่มีการขยับร่างกายเหมือนกีฬาอื่นๆ แล้วผู้ใหญ่ยังมองว่ากีฬาเกิดขึ้นเพื่อให้เด็กๆติดเกมมากขึ้นไปอีกและจะส่งผลกระทบถึงเรื่องอื่น ๆ ต่อไปและถ้าศึกษาลงไปจริงๆกีฬานี้เป็นกีฬาที่มีวินัยมากๆเหมือนกีฬาอื่นๆเลย แล้วการที่จะไปเป็นนักกีฬาจริงๆได้นั้นก็ไม่ได้เป็นกันได้ทุกคน

2. สุขภาพเสียหาย

ข้อนี้ต้องยอมรับว่าถ้านักกีฬานั่งอยู่แต่หน้าคอมพิวเตอร์ไม่ขยับไปไหน ทำให้ร่างกายที่ไม่ได้ขยับหรือนั่งอยู่ในบริบทเดิม ๆ ก็อาจจะทำให้เสียสุขภาพได้ แต่ถ้ามีตารางออกกำลังกายที่เป็นตารางประจำวันให้นักกีฬาเป็นประจำก็น่าจะไม่เป็นอะไร

ยกตัวเองอย่าง Fly โปรเพลยเยอร์ Dota 2 ที่ชอบเข้ายิมและมีกล้ามที่ใหญ่เป็นอย่างมาก ที่ยกแม้กระทั้งนักพากย์ได้แบบสบาย ๆ เลยทีเดียว

3. ไม่มีเป้าหมายจะกลายเป็นติดเกม

เป็นประเด็นที่สำคัญมากๆ ก็คือพวกเขาตั้งใจเล่นเพราะอยากเก่งและอยากสร้างชื่อเสียงแบบจริงจัง หรือเป็นเพียงแค่การติดเกมเท่านั้น และเป็นอีกปัจจัยที่ผู้ที่คันค้านมักจะชอบหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอยู่เสมอเลยก็คือเด็กหรือเกมเมอร์บางคนมักใช้ข้ออ้างดังการที่เกมเป็นอีสปอร์ตในการเล่นเกมที่มากขึ้นทั้งที่เอาเข้าจริงๆแล้ว ดังนั้นแล้วสิ่งสำคัญเลยคือต้องคอยดูว่าเด็กหรือผู้เล่นคนดังกล่าวมีวินัยและตั้งใจมากขนาดไหนในการที่อยากเป็นนักกีฬา

ยกตัวอย่าง 23Savage เมื่อครั้งนึงน้องเองฝึกฝนตัวเองอย่างหนักเพื่อที่จะได้เป็นโปรเพลยเยอร์โดยมีอยู่ช่วงหนึ่งที่ทีม OG ซึ่งเป็นทีมแนวหน้าของ Dota 2 กำลังประกาศหาคนเข้าทีมจากผู้เล่นที่ออกไปน้องทรีเองก็ได้ไปแสดงความคิดเห็นข้างใต้ที่อยากจะเข้าร่วมทีมของพวกเขาแม้ว่าสุดท้ายจะไม่ได้รับการตอบรับแต่อย่างใด

4. เสียการเรียนได้

หนึ่งในประเด็นสำคัญที่ทำให้ผู้คนที่คัดค้าน ก็คือความหวังดีในการเป็นห่วงเด็ก ๆ เยาวชนว่าจะติดเกมมากเกินไปหากไม่ได้รับการดูแลที่ดีหรือมีวินัยจริงๆ เพราะหากไม่อยู่ในการดูแลที่ดีละก็เด็กๆ อาจจะเสียการเรียนซึ่งยังคงเป็นสิ่งจำเป็นในการใช้ชีวิตและอนาคตของพวกเขาเองด้วย อย่างที่รู้กันดีว่าไม่ใช้ทุกคนที่จะไปอยู่บนยอดของการเป็นโปรเพลย์เยอร์ที่ทำเงินได้ ยังไงก็ตามการเรียนหนังสือก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญเพราะก็มีโปรเพลย์เยอร์หลายคนเช่นกัน

ที่เมื่อเลิกแข่งขันแล้วไม่รู้จะไปทางไหนดีเพราะเรียนไม่จบ ดังนั้นการแบ่งเวลาและสร้างทางหนีทีไล่ให้กับตัวเองจึงเป็นเรื่องจำเป็นและไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่งตรงจุดนี้เองที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวผู้เล่นต้องช่วยกันดูแลและปรับความเข้าใจให้เขาเห็นถึงความสำคัญของการเรียนด้วยหากผู้เล่นยังเป็นเด็กอยู่เพราะอนาคตข้างหน้ามันอาจจะไม่ได้สววยหรูเหมือนอย่างที่เขาคิดไว้หากพยายามไม่มากพอ

eSports

ระดับโลก

จากหลายอุตสาหกรรมที่มองเห็นถึงความเป็นไปได้ในการทำกำไรและเข้ามามีส่วนร่วมดังนั้นแล้วในระดับโลกตลาดอีสปอร์ตกำลังเติบโตอย่างมากแบบที่หลายคนอาจจะไม่คาดคิดว่าทำไมมันถึงเติบโตไปได้ไกลขนาดนี้

1. เม็ดเงินในธุรกิจ

ในปี 2018 ที่ผ่านมามีมูลค่าที่สูงถึง 906.5 ล้านดอลลาร์หรือคิดเป็นเงินไทยกว่า 27,749,700,000 บาทโดยประมาณซึ่งนับเป็นจำนวนที่มากมายมหาศาลมาก นอกจากนี้ยังมีอัตราการเติบโตต่อปีที่สูงถึง 38 เปอร์เซ็นต์ในทุกๆ ปีซึ่งเกือบ 70 เปอร์เซ็นต์ของอัตราเติบโตต่อปีนั้นล้วนแล้วมาจากสปอนเซอร์และโฆษณาซึ่งรับเป็นเรื่องที่ดีของวงการ ที่มีธุรกิจให้ความสนใจและลงเงินให้มากขนาดนี้โดยส่วนที่เหลือนั้นจะเป็นค่าบัตรและสินค้าของแบรนด์ แม้จะเป็นส่วนน้อยแต่ก็ยังเติบโตอย่างต่อเนื่องตามจำนวนฐานแฟนคลับและผู้ชมอีสปอร์ตที่เข้ามามากขึ้นเรื่อยๆในแต่ละปี

2. ยอดผู้ชม

ทางด้านข้องยอดผู้ชมกันทั่วโลกนั้นแน่นอนว่าเติบโตไปเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาแม้จะไม่หวือหวาเหมือนกับเม็ดเงินที่ไหลสู่เข้าอีสปอร์ตก็ตามแต่ก็ยังมีการเติบโตในอัตราที่สูงถึง 13.8 เปอร์เซ็นต์ซึ่งจากในจำนวนที่เพิ่มขึ้นน่าสนใจเป็นอย่างมากว่ามาจากโซน Asia Pacific ถึง 58 เปอร์เซ็นต์ด้วยกัน

โดยในปัจจุบันอย่างที่เราเห็นกันว่ามีผู้ชมหากคิดเป็นจำนวนรวมนั้นจะอยู่ที่ 380 ล้านคนแบ่งเป็นผู้ชมที่ติดตามสม่ำเสมอถึง 165 ล้านคนส่วนอีก 215 ล้านคนนั้นจะชมเป็นครั้งเป็นคร่าว สิ่งที่น่าสนใจก็คือในตลาด Asia Pacific ซึ่งรวมถึงประเทศไทยเราเป็นจำนวนประชากรส่วนมากที่เติบโตและขับเคลื่อนวงการอีสปอร์ตอย่างเห็นได้ชัดดังนั้นแล้วธุรกิจต่าง ๆ จึงเริ่มเข้ามาจับจองพื้นที่มากขึ้นเพื่อรองรับการเติบโตและโอกาสทางเกมส์ esport กันมากขึ้นซึ่งมีให้เลือกหลายเกมเป็นอย่างมาก

3. เกมที่ใช้แข่ง

1. MOBA

dota 2

Multiplayer online battle arena หรือ MOBA เป็นเกมที่ได้รับความนิยมอันดับต้น ๆ ควบคู่ไปกับเกมแนว FPS โดยแนวเกม MOBA นั้นจะเป็นรูปแบบการเล่นต่อสู่ของผู้เข้าแข่งขัน 10 คนแบ่งเป็นทีมละ 5 เพื่อต่อสู้กันและใครที่สามารถทำลายบ้านของฝ่ายตรงข้ามได้ก่อนจะเป็นผู้ชนะ

จุดเด่นของเกมแนวนี้จะอยู่ที่การมีตัวฮีโร่แต่ละเกมที่หลากหลายและตำแหน่งการเล่นที่ชัดเจนทำให้ผู้เล่นแต่ละคนต้องใช้ความถนัดกันคนละแบบจนทำให้เกิดเป็นโปรเพลยเยอร์สายต่าง ๆอย่างเช่น Dota 2 ได้รับความนิยมในหมู่โปรเพลย์เยอร์เป็นอย่างมากเพราะด้วยความคลาสสิกของมันและเงินรางวัลที่มากที่สุดในโลกจาก Esportsearning เป็นเกมที่มียอดผู้ชมสูงถึง 1,968,497 คนทั่วโลกพร้อมกัน

2. Overwatch

overwatch

เป็นเกม FPS ที่ผสมผสานเข้ากับเกม MOBA ในเกม ผู้เล่นจะเลือกฮีโร่ 1 ตัวมาต่อสู้กันแบบ 6 ต่อ 6 โดยจะไม่ได้วัดกันว่าใครสังหารเยอะที่สุด แต่จะวัดแพ้ชนะกันที่จุดประสงค์ของแต่ละด่านเช่น ถ้าเกิดยึดพื้นที่ได้นานกว่าถึงจะชนะ หรือถ้าสามารถพา Payload เคลื่อนที่ไปไกลกว่าอีกฝ่ายได้ก็จะชนะ

ฮีโร่ในเกม Overwatch นั้นจะไม่มีเลเวล หรือการซื้อไอเทม การที่ฮีโร่จะสามารถใช้ Ultimate ได้นั้น พวกเขาจำเป็นต้องทำการเก็บสะสมก่อนที่จะใช้ได้ โดยสามารถสะสมได้หลายแบบเช่น การทำดาเมจใส่ฝั่งตรงข้าม หรือการฟื้นฟูพลังชีวิตของเพื่อนร่วมทีมกันเอง

ตัวละครหรือฮีโร่ในเกมนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ DPS ที่เป็นตัวทำดาเมจ, แทงค์ที่เป็นตัวสร้างพื้นที่ให้กับทีมและรับดาเมจ และฮีลเลอร์ที่คอยนับสนุนเพื่อนร่วทีมด้วยการฮีลและใช้สกิลอื่น ๆ

3. PUBG

PUBG

เกมแนว Battle Royale โดยพื้นฐานแล้ว PUBG เป็นเกมยิงที่สามารถเล่นได้ทั้งในแบบมุมมองบุคคลที่หนึ่ง FPS และ มุมมองบุคคลที่สาม TPS แต่การเล่นด้วยมุมมองบุคคลที่สามจะทำให้ผู้เล่นได้เปรียบกว่ามาก เพราะสามารถมองสภาพแวดล้อมโดยที่ตัวละครหลบอยู่ในที่กำบังได้ และจากรากฐานที่พัฒนามาจากเกมสงครามอย่าง Arma ทำให้กันเพลย์ในเกมค่อนข้างสมจริงมาก ปืนแต่ละกระบอกมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันทั้งเสียง แรงถีบ กระสุน และรูปแบบการยิง

เราสามารถเลือกจำนวนผู้เล่นได้ 3 รูปแบบด้วยกัน นั่นคือ Solo ผู้เล่นทุกคนจะเล่นคนเดียวแบบไม่มีทีม Duo คือโหมดที่ผู้เล่นสองคนจับคู่กันกลายเป็น 50 ทีม ( ผู้เล่น 100 คน ) และสุดท้ายคือ Squad คือจะแบ่งผู้เล่นเป็นทีมละ 4 คน ในการเล่นแบบทีม แม้ผู้เล่นในทีมนั้นๆ จะตายหมดจนเหลือรอดเพียงคนเดียวก็ยังถือว่าทีมนั้นเป็นผู้ชนะอยู่

โลกของเกมก็เป็นแบบ open world แมพกว้างใหญ่เพียงแมพเดียวให้ผู้เล่นเดินทางไปไหนก็ได้ หลังจากให้ผู้เล่นท่องโลกเก็บไอเทมตามอัธยาศัยระยะเวลาหนึ่ง แผนที่ของเกมจะจำกัดพื้นที่ให้ผู้เล่นขยับเข้าใกล้กันเพื่อให้เกิดการปะทะและลดจำนวนผู้เล่นลง ซึ่งพื้นที่ๆ ผู้เล่นจะอยู่ได้นั้นจะถูกบีบให้แคบลงเรื่อยจนกระทั้งเหลือแค่ระยะไม่กี่เมตรในวงสุดท้าย การจะเป็นผู้ชนะในเกมนี้ได้ ผู้เล่นจะต้องมีฝีมือทักษะที่ดี การวางแผนที่ยอดเยี่ยม และแน่นอนต้องมีดวงด้วย

เรื่องราวของฟุตบอล : นักเตะโคตรหล่อของโลก

Online Game บนมือถือมาแรง : Dragon Raja